สวทช. จับมือ กฟผ. และบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ร่วมศึกษาการนำเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงต่อยอดสู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ พร้อมจัดตั้งคณะทำงานเร่งศึกษาและจัดทำแผนธุรกิจ

นางวีนัส หลงสมบุญ ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. เตรียมเดินหน้านำผลงานวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ 20C Discharge C Rate & Pole Solid State Battery หรือ Batt 20C ที่ กฟผ. และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกันวิจัยพัฒนาและขึ้นบัญชีนวัตกรรมเรียบร้อยแล้วมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ โดยลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ในการนำ Batt 20C ไปขยายผลสู่ธุรกิจด้านการขนส่ง อาทิ ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งและโลจิสติกส์ ยานยนต์พิเศษสำหรับกิจการภาคพื้นในสนามบิน การพัฒนาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบติดตั้งอยู่กับที่ (Stationary EV Charger) และแบบเคลื่อนที่ (Mobile EV Charger) เพื่อให้บริการภายในสถานีบริการน้ำมันและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อศึกษาการจัดทำแผนธุรกิจ ช่องทางการตลาด รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อคัดเลือกเป็นธุรกิจนำร่องในอนาคตต่อไป โดยมีกรอบระยเวลาการศึกษาทั้งหมด 5 ปี

สำหรับ Batt 20C เป็นแบตเตอรี่ลิเทียมไอรอนฟอสเฟตที่มีประสิทธิภาพและความเสถียรสูง สามารถปล่อยและรับประจุ (Charge และ Discharge) ได้ดีกว่าแบตเตอรี่ทั่วไปถึง 20 เท่า จึงเหมาะแก่การนำไปใช้ร่วมกับพลังงานทดแทนเพื่อเสริมเสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้า การใช้งานเพื่อเสริมประสิทธิภาพและลดต้นทุนในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม หรือหากนำไปใช้เป็นแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าจะมีความสามารถในจ่ายกำลังไฟฟ้าสูงและช่วยลดระยะเวลาในการชาร์จอีกด้วย

Recommend

[bdp_post_carousel show_content="true" arrows="false" speed="2000" show_comments="false" show_read_more="false"]